จำนวนประชากรประเทศไทย พ.ศ. 2566 (ล่าสุด) แยกรายจังหวัดและรายภาค

ประเทศไทยของเรากำลังเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ มีเด็กเกิดใหม่น้อยลงเรื่อยๆ จนน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิต ในขณะที่ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้นอันเนื่องมาจากการแพทย์และโภชนาการที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบสังคมที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา

ณ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของประเทศไทย ได้รายงานว่าประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,052,615 คน แบ่งเป็นเพศชายไทย 32,224,008 คน เพศหญิงไทย 33,828,607 คน โดยมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายจำนวน 1,604,599 คน



จำนวนประชากรประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2566 แยกรายจังหวัด มีดังต่อไปนี้


ประชากรประเทศไทย พ.ศ. 2566 แยกรายจังหวัด

ลำดับ
จังหวัด
จำนวนประชากร (คน)
1. กรุงเทพมหานคร 5,471,588
2. จังหวัดกระบี่ 482,121
3. จังหวัดกาญจนบุรี 895,281
4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 968,065
5. จังหวัดกำแพงเพชร 704,948
6. จังหวัดขอนแก่น 1,779,373
7. จังหวัดจันทบุรี 536,436
8. จังหวัดฉะเชิงเทรา 730,543
9. จังหวัดชลบุรี 1,618,066
10. จังหวัดชัยนาท 316,220
11. จังหวัดชัยภูมิ 1,113,378
12. จังหวัดชุมพร 508,857
13. จังหวัดเชียงราย 1,298,977
14. จังหวัดเชียงใหม่ 1,797,075
15. จังหวัดตรัง 637,017
16. จังหวัดตราด 227,052
17. จังหวัดตาก 691,714
18. จังหวัดนครนายก 260,117
19. จังหวัดนครปฐม 924,521
20. จังหวัดนครพนม 714,284
21. จังหวัดนครราชสีมา 2,625,794
22. จังหวัดนครศรีธรรมราช 1,540,953
23. จังหวัดนครสวรรค์ 1,021,883
24. จังหวัดนนทบุรี 1,308,092
25. จังหวัดนราธิวาส 819,162
26. จังหวัดน่าน 472,722
27. จังหวัดบึงกาฬ 420,487
28. จังหวัดบุรีรัมย์ 1,573,230
29. จังหวัดปทุมธานี 1,219,199
30. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 550,977
31. จังหวัดปราจีนบุรี 499,563
32. จังหวัดปัตตานี 737,077
33. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 822,106
34. จังหวัดพะเยา 458,287
35. จังหวัดพังงา 267,057
36. จังหวัดพัทลุง 520,598
37. จังหวัดพิจิตร 521,907
38. จังหวัดพิษณุโลก 841,729
39. จังหวัดเพชรบุรี 483,668
40. จังหวัดเพชรบูรณ์ 967,421
41. จังหวัดแพร่ 426,331
42. จังหวัดภูเก็ต 423,599
43. จังหวัดมหาสารคาม 937,915
44. จังหวัดมุกดาหาร 351,595
45. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 287,644
46. จังหวัดยโสธร 528,878
47. จังหวัดยะลา 549,946
48. จังหวัดร้อยเอ็ด 1,284,836
49. จังหวัดระนอง 193,371
50. จังหวัดระยอง 771,189
51. จังหวัดราชบุรี 864,746
52. จังหวัดลพบุรี 729,697
53. จังหวัดลำปาง 711,478
54. จังหวัดลำพูน 398,440
55. จังหวัดเลย 635,142
56. จังหวัดศรีสะเกษ 1,450,333
57. จังหวัดสกลนคร 1,142,657
58. จังหวัดสงขลา 1,431,959
59. จังหวัดสตูล 325,470
60. จังหวัดสมุทรปราการ 1,372,970
61. จังหวัดสมุทรสงคราม 187,993
62. จังหวัดสมุทรสาคร 592,033
63. จังหวัดสระแก้ว 562,902
64. จังหวัดสระบุรี 638,826
65. จังหวัดสิงห์บุรี 201,439
66. จังหวัดสุโขทัย 577,866
67. จังหวัดสุพรรณบุรี 826,391
68. จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1,075,788
69. จังหวัดสุรินทร์ 1,367,842
70. จังหวัดหนองคาย 514,021
71. จังหวัดหนองบัวลำภู 506,872
72. จังหวัดอ่างทอง 270,726
73. จังหวัดอำนาจเจริญ 374,137
74. จังหวัดอุดรธานี 1,558,528
75. จังหวัดอุตรดิตถ์ 439,629
76. จังหวัดอุทัยธานี 322,273
77. จังหวัดอุบลราชธานี 1,869,608

จากตารางด้านบนจะพบว่ากรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่หรือจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีประชากร 5,471,588 คน ส่วนจังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีประชากรเพียง 187,993 คนเท่านั้น


10 จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย 2566

อันดับ
จังหวัด
จำนวนประชากร (คน)
    1 กรุงเทพมหานคร           5,471,588
    2 จังหวัดครราชสีมา 2,625,794
    3 จังหวัดอุบลราชธานี 1,869,608
    4 จังหวัดเชียงใหม่ 1,797,075
    5 จังหวัดขอนแก่น 1,779,373
    6 จังหวัดชลบุรี 1,618,066
    7 จังหวัดบุรีรัมย์ 1,573,230
    8 จังหวัดอุดรธานี 1,558,528
    9 จังหวัดนครศรีธรรมราช 1,540,953
   10 จังหวัดศรีสะเกษ 1,450,333



10 จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย 2566

อันดับ
จังหวัด
จำนวนประชากร (คน)
    1 จังหวัดสมุทรสงคราม 187,993
    2 จังหวัดระนอง 193,371
    3 จังหวัดสิงห์บุรี 201,439
    4 จังหวัดตราด 227,052
    5 จังหวัดนครนายก 260,117
    6 จังหวัดพังงา ‎267,057
    7 จังหวัดอ่างทอง 270,726
    8 จังหวัดแม่ฮ่องสอน 287,644
    9 จังหวัดชัยนาท 316,220
   10 จังหวัดอุทัยธานี 322,273


จำนวนประชากรแยกรายภาค
  • ภาคเหนือ : 6,290,583 คน
  • ภาคกลาง : 20,099,945 คน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 21,716,975 คน
  • ภาคใต้ : 9,512,975 คน
  • ภาคตะวันออก : 4,945,751 คน
  • ภาคตะวันตก : 3,486,386 คน

ข้อมูลจำนวนประชากรจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยนี้ เป็นข้อมูลประชากรที่ได้มีการรายงานการเกิด การตาย การย้ายถิ่นฐานอย่างเป็นทางการเท่านั้น ยังไม่ได้รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศภายใต้ข้อตกลงด้านแรงงาน (แรงงานถูกกฎหมาย) และผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแบบผิดกฎหมาย เช่น แรงงานเถื่อน เป็นต้น ซึ่งแรงงานทั้งสองประเภทนี้มีอยู่จำนวนหลายล้านคน


ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร | ข้อมูลเขต สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์

เขตบางพลัด เป็น 1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่หนาแน่นมาก รวมถึงเป็นแหล่งการค้าการขายที่คึกคัก รวมถึงยังเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่าและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

เขตบางพลัดเดิมที่มีชื่อว่าอำเภอบางพลัด จังหวัดพระนคร ต่อมาถูกลดฐานะลงเป็นตำบลบางพลัด อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี 

ต่อมาเมื่อจังหวัดธนบุรีถูกยุบรวมกับกรุงเทพในปี พ.ศ. 2514 ในชื่อจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานครในปีต่อมาตามลำดับนั้น ตำบลบางพลัดจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อย เพื่อให้เข้ากับรูปแบบการบริหารราชการในรูปแบบใหม่

ต่อมาเมื่อชุมชนมีการขยายใหญ่ขึ้น มีประชากรเข้ามาอาศัยมากขึ้น การบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชนเริ่มไม่คล่องตัว กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกพื้นที่ 4 แขวงของเขตบางกอกน้อยออกมาตั้งเขตใหม่ ได้แก่ แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางบำหรุ และแขวงบางยี่ขัน โดยให้ชื่อเขตใหม่นี้ว่า เขตบางพลัด เมือวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532


ภาพแสดงที่ตั้งเขตบางพลัด

ข้อมูลสำคัญของเขตบางพลัด

พื้นที่ : 11.360 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 87,205 คน (31 ธันวาคม 2566 กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย)
คำขวัญ : พระแซกคำล้ำค่า แข่งเรือพายเจ้าพระยา งามสง่าพระราม 8

เขตบางพลัด แบ่งการปกครองออกเป็น 4 แขวง ดังนี้

  • แขวงบางพลัด
  • แขวงบางอ้อ
  • แขวงบางบำหรุ
  • แขวงบางยี่ขัน

สถานที่ติดต่อ : สำนักงานเขตบางพลัด เลขที่ 39 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

โทรศัพท์ : 0 2424 3777

รหัสไปรษณีย์ : 10700

อาณาเขต
ทิศเหนือ - ติดต่อกับอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันออก - ติดต่อกับเขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตพระนคร (มีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง)
ทิศใต้ - ติดต่อกับเขตบางกอกน้อย
ทิศตะวันตก - ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน


แผนที่เขต
บางพลัด



ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร | ข้อมูลแขวง พื้นที่ ประชากร รหัสไปรษณีย์ สถานที่ติดต่อ

แขวงบวรนิเวศ เป็น 1 ในจำนวน 12 แขวงของเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นแขวงขนาดเล็กแขวงหนึ่งของเขตพระนคร สภาพโดยทั่วไปเป็นสถานที่ราชการ โบราณสถาน และวัดวาอาราม เรียกได้ว่าเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่าและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

สถานที่สำคัญภายในแขวงบวรนิเวศ เช่น โลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นต้น


ภาพแสดงที่ต้งแขวงบวรนิเวศ

อาณาเขต


ข้อมูลสำคัญของแขวงบวรนิเวศ


สถานที่ติดต่อ

สำนักงานเขตพระนคร เลขที่ 78 ซอยสามเสน 3 (วัดสามพระยา) ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

แผนที่แขวงบวรนิเวศ



ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต

จังหวัดภูเก็ต เป็น 1 ใน 14 จังหวัดของภาคใต้ แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 104 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง แบ่งออกเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 9 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้


แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต

รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง

  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต

2. เทศบาลนคร 1 แห่ง

  • เทศบาลนครภูเก็ต

3. เทศบาลเมือง 2 แห่ง

  • เทศบาลเมืองกะทู้ 
  • เทศบาลเมืองป่าตอง

4. เทศบาลตำบล 9 แห่ง

  • เทศบาลตำบลกะรน
  • เทศบาลตำบลรัษฎา
  • เทศบาลตำบลราไวย์
  • เทศบาลตำบลวิชิต
  • เทศบาลตำบลฉลอง
  • เทศบาลตำบลเชิงทะเล
  • เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  • เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  • เทศบาลตำบลป่าคลอก

5. องค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง

  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกมลา


รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต แยกรายอำเภอ

1. อำเภอเมืองภูเก็ต : 7 แห่ง (1 เทศบาลนคร, 5 เทศบาลตำบล, 1 อบต.)

  • เทศบาลนครภูเก็ต
  • เทศบาลตำบลกะรน
  • เทศบาลตำบลรัษฎา
  • เทศบาลตำบลราไวย์
  • เทศบาลตำบลวิชิต
  • เทศบาลตำบลฉลอง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว
2. อำเภอถลาง : 8 แห่ง (4 เทศบาลตำบล, 4 องค์การบริหารส่วนตำบล)
  • เทศบาลตำบลเชิงทะเล
  • เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  • เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  • เทศบาลตำบลป่าคลอก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู
3. อำเภอกะทู้ : 3 แห่ง (2 เทศบาลเมือง, 1 องค์การบริหารส่วนตำบล)

  • เทศบาลเมืองกะทู้ 
  • เทศบาลเมืองป่าตอง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกมลา


ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร | ข้อมูลเขต สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์

เขตสายไหม เป็น 1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งพระนคร ติดกับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและพานิชยกรรม มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของกรุงเทพมหานครรองจากเขตคลองสามวา จำนวน 208,928 คน (2565)

เขตสายไหมเดิมมีฐานะเป็นตำบลสายไหม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ต่อมาได้ถูกโอนย้ายมาขึ้นกับอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร ต่อมาเมื่อจังหวัดพระนครถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรีในปี พ.ศ. 2514 แล้วจัดตั้งจังหวัดใหม่ชื่อว่าจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 ตามลำดับนั้น ตำบลสายไหมจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแขวงสายไหม เขตบางเขต เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการรูปแบบใหม่

ต่อมาเมื่อพื้นที่มีความเจริญมากขึ้น มีประชากรมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงตัดแบ่งพื้นที่เขตบางเขนจำนวน 3 แขวง ได้แก่ แขวงสายไหม แขวงออเงิน และแขวงคลองถนน ออกมาตั้งเป็นเขตใหม่ ชื่อว่าเขตสายไหม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540




ข้อมูลสำคัญของเขตสายไหม

พื้นที่ : 44.615 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 210,954 คน (31 ธันวาคม 2566 กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย)
คำขวัญ : อาคารคุ้มเกล้าตระการตา มาตรฐานการศึกษากว้างไกล แพร่ไสวการเกษตร วิเศษการกีฬา ศรัทธาในคุณธรรม

เขตสายไหม แบ่งการปกครองออกเป็น 3 แขวง ดังนี้

  • แขวงสายไหม
  • แขวงออเงิน
  • แขวงคลองถนน

สถานที่ติดต่อ : สำนักงานเขตสายไหม เลขที่ 222 หมู่ที่ 3 ถนนสุขาภิบาล 5 แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220

โทรศัพท์ : 0 2158 7349

รหัสไปรษณีย์ : 10220

อาณาเขต
ทิศเหนือ - ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก - ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และเขตคลองสามวา
ทิศใต้ - ติดต่อกับเขตบางเขน
ทิศตะวันตก - ติดต่อกับเขตดอนเมือง


แผนที่เขต
สายไหม



ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร | ข้อมูลแขวง พื้นที่ ประชากร รหัสไปรษณีย์ สถานที่ติดต่อ

แขวงเสาชิงช้า เป็น 1 ในจำนวน 12 แขวงของเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นแขวงที่มีขนาดเล็ก โดยมีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเขตการค้า เขตโบราณสถาน และแหล่งที่อยู่อาศัยที่หนาแน่นมาก มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแหล่ง เช่น วัดสุทัศเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร และเสาชิงช้าเป็นต้น โดยชื่อเขตตั้งชื่อตามเสาชิงช้า ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมพวาย (ตรีปวาย) ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หรือลานคนเมือง ใกล้กับเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร
  • ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร


ภาพแสดงที่ตั้งแขวงเสาชิงช้า


ข้อมูลสำคัญของแขวงเสาชิงช้า


สถานที่ติดต่อ

สำนักงานเขตพระนคร เลขที่ 78 ซอยสามเสน 3 (วัดสามพระยา) ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

โทรศัพท์ : 0 2628 9066


แผนที่แขวงเสาชิงช้า



ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม

จังหวัดสมุทรสงคราม เป็น 1 ใน 21 จังหวัดของภาคกลาง แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ 36 ตำบล 284 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 36 แห่ง แบ่งออกเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 0 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 6 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 26 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้


ตลาดร่มหุบในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม

รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง

  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม

2. เทศบาลเมือง 1 แห่ง

  • เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม

3. เทศบาลตำบล 8 แห่ง

  • เทศบาลตำบลบางจะเกร็ง
  • เทศบาลตำบลกระดังงา
  • เทศบาลตำบลบางนกแขวก
  • เทศบาลตำบลบางกระบือ
  • เทศบาลตำบลบางยี่รงค์
  • เทศบาลตำบลอัมพวา
  • เทศบาลตำบลเหมืองใหม่
  • เทศบาลตำบลสวนหลวง

4. องค์การบริหารส่วนตำบล 26 แห่ง

  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันแตก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขิน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดใหญ่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมใหญ่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายหาด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปรก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมปลวก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพรม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางนางลี่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดประดู่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปลายโพงพาง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแควอ้อม


รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม แยกรายอำเภอ

1. อำเภอเมืองสมุทรสงคราม : 11 แห่ง (1 เทศบาลเมือง, 1 เทศบาลตำบล, 9 อบต.)

  • เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม
  • เทศบาลตำบลบางจะเกร็ง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันแตก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขิน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดใหญ่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมใหญ่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายหาด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปรก
2. อำเภอบางคนที : 11 แห่ง (4 เทศบาลตำบล, 7 องค์การบริหารส่วนตำบล)
  • เทศบาลตำบลกระดังงา
  • เทศบาลตำบลบางนกแขวก
  • เทศบาลตำบลบางกระบือ
  • เทศบาลตำบลบางยี่รงค์
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมปลวก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพรม
3. อำเภออัมพวา : 13 แห่ง (3 เทศบาลตำบล, 10 องค์การบริหารส่วนตำบล)

  • เทศบาลตำบลอัมพวา
  • เทศบาลตำบลเหมืองใหม่
  • เทศบาลตำบลสวนหลวง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางนางลี่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดประดู่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปลายโพงพาง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแควอ้อม


ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ