เฉลย ...
ในสังคมไทยเราทุกวันนี้ เราไปไหนมาไหนกันด้วยรถยนต์เสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้เดินหรือใช้เรือเหมือนสมัยก่อน อีกทั้งจำนวนรถยนต์ในบ้านเราก็มีมากขึ้นทุกวัน และมากกว่า 90% เป็นรถที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งปล่อยไอเสียออกมามากมาย เรามาดูกันว่าในไอเสียรถยนต์นั้นมีสารพิษอะไรบ้าง...
เมื่อรถเผาผลาญน้ำมันเพื่อให้ได้พลังงานในการขับเคลื่อนนั้น จะได้ไอเสียเป็นส่วนเกินออกมาด้วยเสมอ ไอเสียมีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide)
2. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide)
3. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide)
4. ก๊าซไนตริคออกไซด์ (Nitric Oxide)
5. ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen Oxide)
6. สารประกอบอัลดิไฮด์ (Aldehyde)
7. สารประอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon)
8. เขม่า
ท่อไอเสียรถยนต์ ปล่อยสารพิษออกมามากมายหลายชนิด |
ในบรรดาสารประกอบ 7 ตัวแรกที่ท่อไอเสียปล่อยออกมานั้น มีอันตรายต่อสุขภาพทุกตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ จะทำให้เกิดอาการเลือดเป็นพิษอันเนื่องมาจากตัวมันสามารถจับตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือกแดงได้ดี ทำให้เม็ดเลือกแดงนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้อึดอัด หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เลือดไหลเวียนไม่ดี ส่งผลให้สมองและเซลล์ของร่างกายขาดออกซิเจน และถ้าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในอากาศมีสูงมาก อาจจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นหมดสติ และเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
ผลกระทบของคาร์บอนมอนอกไซด์ต่อร่างกาย |
ในส่วนของเขม่านั้น พบว่าในเขม่าที่ออกมากับไอเสียรถยนต์จะประกอบไปด้วยสารเคมีอันตรายมากมาย เช่น ผงคาร์บอน สารจำพวกฟีนอลส สารอินทรีจำพวกไนโตร น้ำมันรถยนต์ และยางเหนียว ๆ ที่มีสารพิษเป็นองค์ประกอบหลายชนิด
รถยนต์ไฟฟ้าคือทางออกหนึ่งของการแก้ปัญหาควันพิษจากรถยนต์ |
จะเห็นว่า ท่อไอเสียรถยนต์นั้นปล่อยสารพิษออกมามากมาย ดังนั้นเมื่อจำเป็นต้องผ่านพื้นที่ที่มีรถมากหรือรถติด ควรมีผ้าปิดปากและจมูก รวมถึงล้างหน้า มือ และจมูกทันทีที่ถึงบ้าน รวมถึงช่วยกันรณรงค์ให้มีการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (ซึ่งไม่ปล่อยไอเสียใด ๆ ออกมาเลย) กันให้มาก ๆ ในประเทศของเรา ...