ส.ว. มีหน้าที่อะไรบ้าง?

คำถาม ... ส.ว. มีหน้าที่อะไรบ้าง?

เฉลย ...

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
เป็นตำแหน่งข้าราชการการเมืองประเภทหนึ่ง ซึ่งมีที่มาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยที่มาตรา 107 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวนสองร้อยคน ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทํางานหรือเคยทํางานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม โดยในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทําให้ประชาชนซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ และอายุของวุฒิสภามีกําหนดคราวละห้าปีนับแต่วันประกาศผลการเลือก




ส.ว. มีหน้าที่อะไรบ้าง?
ในปัจจุบันเรากำลังใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2561 เป็นกฏเกณฑ์หลักในการได้มาซึ่ง ส.ว. ซึ่ง ส.ว. นั้นมีหน้าที่ต่าง ๆ มากมาย ดังนี้

1. เลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ภายใน 5 ปีแรกที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560)
2. กลั่นกรองและให้ความเห็นชอบกฎหมายที่ผ่านการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
3. ให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติงบประมาณก่อนที่จะประกาศใช้
4. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้ที่จะดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นต้น 5. ให้ความเห็นชอบในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง เช่น องค์กรอิสระ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด ส.ส. และ ส.ว. เป็นต้น
6. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
7. ให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม

สมาชิกวุฒิสภา ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปีในวันสมัครรับเลือก
- มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทํางานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่าสิบปี หรือเป็นผู้มีลักษณะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
- เกิด มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ทํางาน หรือมีความเกี่ยวพันกับพื้นที่ที่สมัครตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

ลักษณะต้องห้ามสำหรับ ส.ว. มีดังนี้ 
- เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 98 (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (15) (16) (17) หรือ (18) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- เป็นข้าราชการ
- เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
- เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
- เป็นหรือเคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมือง เว้นแต่ได้พ้นจากการดํารงตําแหน่งในพรรคการเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
- เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นรัฐมนตรีมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
- เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก - เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาในคราวเดียวกันหรือผู้ดํารงตําแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญหรือในองค์กรอิสระ
- เคยดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560)


อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ