เฉลย ...
ฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ สัตว์สู่คน และเริ่มมีรายงานการติดต่อจากคนสู่คนได้ในปัจจุบัน โดยที่โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์มีใช้ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู รวมถึงมนุษย์ก็สามารถติดเชื้อและเป็นพาหะของโรคได้
ฝีดาษลิงเป็นโรคที่พบการระบาดมากในกลุ่มประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก แต่ในปัจจุบันเริ่มพบการระบาดในพื้นที่อื่น ๆ ของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป อิสราเอล และออสเตรเลีย เหตุผลก็เนื่องมาจากการเดินทางที่สะดวกขึ้น และคนที่มีเชื้อก็สามารถเป็นพาหะพาเชื้อเดินทางไปได้ทั่วโลก เช่นเดียวกับโรคโควิด-19
ตุ่มหนองตามผิวหนัง อาการระยะลุกลามของโรคฝีดาษลิง |
สาเหตุของโรคฝีดาษลิง
1. การสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
2. การถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดหรือข่วน
3. การกินเนื้อสัตว์ป่าที่ไม่ผ่านการปรุงสุก
4. การสัมผัสหรือเข้าไปอยู่ในที่นอนของสัตว์ป่วยโดยไม่มีการป้องกัน
5. การสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแผลของผู้ป่วย
6. การสัมผัสทางระบบทางเดินหายใจกับผู้ป่วย (ยังเป็นเครื่องหมายคำถามอยู่)
7. การสัมผัสอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีเชื้ออยู่
1. การสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
2. การถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดหรือข่วน
3. การกินเนื้อสัตว์ป่าที่ไม่ผ่านการปรุงสุก
4. การสัมผัสหรือเข้าไปอยู่ในที่นอนของสัตว์ป่วยโดยไม่มีการป้องกัน
5. การสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแผลของผู้ป่วย
6. การสัมผัสทางระบบทางเดินหายใจกับผู้ป่วย (ยังเป็นเครื่องหมายคำถามอยู่)
7. การสัมผัสอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีเชื้ออยู่
อาการของฝีดาษลิง
เมื่อร่างกายมนุษย์รับเชื่อไวรัสฝีดาษลิงเข้าไป ตัวไวรัสจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 7-14 วัน จากนั้นเริ่มมีอาการไข้ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นไปทั่วร่างกาย เช่น บริเวณแขน ขา ลำตัว และใบหน้า ต่อมาผื่นเหล่านี้จะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิต 10% ของผู้ป่วย
เมื่อร่างกายมนุษย์รับเชื่อไวรัสฝีดาษลิงเข้าไป ตัวไวรัสจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 7-14 วัน จากนั้นเริ่มมีอาการไข้ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นไปทั่วร่างกาย เช่น บริเวณแขน ขา ลำตัว และใบหน้า ต่อมาผื่นเหล่านี้จะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิต 10% ของผู้ป่วย
Poxviridae virus หรือ Monkeypox virus ต้นเหตุของโรคฝีดาษลิง |
วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า
2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก
3. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือเดินทางเข้าไปในป่า
4. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการตรวจคัดกรองโรค
5. กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักตัว
6. งดเข้าใกล้หรือสัมผัสกับผู้ที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโรคนี้
6. งดเข้าใกล้หรือสัมผัสกับผู้ที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโรคนี้
การลักลอบค้า / นำเข้า สัตว์ป่าแบบผิดกฎหมาย เป็นสาเหตุหนึ่ง ของการนำเชื้อโรคจากสัตว์เข้ามาสู่คน |
จะเห็นว่าอาการทั่วไปของโรคฝีดาษลิงนั้นเหมือนกับฝีดาษคน (ไข้ทรพิษ) ที่เคยระบาดในอดีตแทบทุกอย่าง เนื่องจากเป็นโรคในตระกูลเดียวกัน แต่ฝีดาษคนนั้นมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 30% จึงต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกัน (ที่เราเรียกกันว่าปลูกฝีนั่นแหละ) และโรคนี้ได้หายไปจากประเทศไทยมาซักระยะหนึ่งแล้ว ทำให้กระทรวงสาธารณสุขได้ยกเลิกการปลูกฝีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ดังนั้นผู้ที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2523 จะได้รับการปลูกฝีกัน (เกือบ) ทุกคนแล้ว และยังมีประสิทธิภาพป้องกันโรคฝีดาษลิงได้สูงถึง 85% ส่วนผู้ที่เกิดหลังจากการยกเลิกการฉีดวัคซีนตัวนี้ จะต้องสังเกตุอาการตัวเอง ถ้าเริ่มมีตุ่มขึ้นตามร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
เครดิต : ข้อมูลบางส่วนจากเพจ หมอแล็บแพนด้า
สายพันธุ์ของไวรัส
เชื้อไวรัสกลุ่ม Othopoxvirus ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฝีดาษลิงนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่
1. สายพันธุ์ West African Clade เป็นสายพันธุ์ที่ก่อโรคที่มีอาการไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตราว 1%
เชื้อไวรัสกลุ่ม Othopoxvirus ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฝีดาษลิงนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่
1. สายพันธุ์ West African Clade เป็นสายพันธุ์ที่ก่อโรคที่มีอาการไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตราว 1%
2. สายพันธุ์ Central African Clade เป็นสายพันธุ์ที่ก่อโรคได้รุนแรงมากกว่ากลุ่มแรก โดยผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 10%
อัพเดทสถานการณ์การระบาดของโรคฝีดาษลิงทั่วโลก
21 พ.ค. 2565
- ประเทศเนเธอร์แลนด์และอิสราเอลยืนยันพบผู้ติดเชื้อคนแรก
23 พ.ค. 2565
- พบการติดเชื้อ 92 ราย ใน 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย, เบลเยียม, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, โปรตุเกส, สเปน สวีเดน, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
30 พ.ค. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย รายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง 1 ราย มีประวัติเดินทางมาเปลี่ยนเครื่องในสนามบินในไทย 2 ชั่วโมงเพื่อเดินทางต่อไปประเทศออสเตรเลีย ทำให้มีผู้สัมผัสเสี่ยง 12 ราย แต่ทั้ง 12 รายยังไม่มีใครแสดงอาการของโรค
1 มิ.ย. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าทั่วโลกพบผู้ป่วยแล้วใน 32 ประเทศ จำนวน 494 คน เป็นผู้ป่วยยืนยัน 406 คน และต้องสงสัย 88 คน
- องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อล่าสุด 555 คน ใน 32 ประเทศ
2 มิ.ย. 2565
- พบการระบาดของโรคฝีดาษลิงมากกว่า 30 ประเทศ (นอกทวีปแอฟริกา) ตรวจยืนยันแล้วว่าเป็นฝีดาษลิงมากกว่า 600 ราย
- องค์กรความมั่นคงสาธารณสุขแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อคนสู่คน โดยรายงานผู้ติเชื้อแล้ว 132 ราย โดย Cluster ใหญ่สุดเป็นกลุ่มชายรักชาย
- กรมควบคุมโรคกังวลการจัดงานไพรด์พาเหรด จำนำเชื้อฝีดาษลิงเข้าไทย จับตานักเดินทางจาก 6 ประเทศเข้าไทย ได้แก่ แอฟริกา อังกฤษ โปรตุเกส สเปน แคนาดา และเยอรมนี
- องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดฝีดาษลิง ระบาดมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมาแสดงอาการการระบาดในวงกว้าง
- ประเทศอิตาลีรายงานผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศ เพิ่มเป็น 20 ราย
21 พ.ค. 2565
- ประเทศเนเธอร์แลนด์และอิสราเอลยืนยันพบผู้ติดเชื้อคนแรก
23 พ.ค. 2565
- พบการติดเชื้อ 92 ราย ใน 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย, เบลเยียม, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, โปรตุเกส, สเปน สวีเดน, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
30 พ.ค. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย รายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง 1 ราย มีประวัติเดินทางมาเปลี่ยนเครื่องในสนามบินในไทย 2 ชั่วโมงเพื่อเดินทางต่อไปประเทศออสเตรเลีย ทำให้มีผู้สัมผัสเสี่ยง 12 ราย แต่ทั้ง 12 รายยังไม่มีใครแสดงอาการของโรค
1 มิ.ย. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าทั่วโลกพบผู้ป่วยแล้วใน 32 ประเทศ จำนวน 494 คน เป็นผู้ป่วยยืนยัน 406 คน และต้องสงสัย 88 คน
- องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อล่าสุด 555 คน ใน 32 ประเทศ
2 มิ.ย. 2565
- พบการระบาดของโรคฝีดาษลิงมากกว่า 30 ประเทศ (นอกทวีปแอฟริกา) ตรวจยืนยันแล้วว่าเป็นฝีดาษลิงมากกว่า 600 ราย
- องค์กรความมั่นคงสาธารณสุขแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อคนสู่คน โดยรายงานผู้ติเชื้อแล้ว 132 ราย โดย Cluster ใหญ่สุดเป็นกลุ่มชายรักชาย
- กรมควบคุมโรคกังวลการจัดงานไพรด์พาเหรด จำนำเชื้อฝีดาษลิงเข้าไทย จับตานักเดินทางจาก 6 ประเทศเข้าไทย ได้แก่ แอฟริกา อังกฤษ โปรตุเกส สเปน แคนาดา และเยอรมนี
- องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดฝีดาษลิง ระบาดมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมาแสดงอาการการระบาดในวงกว้าง
- ประเทศอิตาลีรายงานผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศ เพิ่มเป็น 20 ราย
4 มิ.ย. 2565
- CDC หรือ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา รายงานการตรวจพบไวรัสฝีดาษลิง 2 สายพันธ์ุในผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในอเมริกา จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐขณะนี้มี 20 คนใน 11 มลรัฐ (เป็นชาย 19 คน หญิง 1 คน) โดยทั้ง 2 สายพันธ์ุที่พบล้วนเกี่ยวข้องกับไวรัสฝีดาษลิงสายพันธ์ุที่ระบาดในไนจีเรียตั้งแต่ปี 2017
- CDC หรือ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา รายงานการตรวจพบไวรัสฝีดาษลิง 2 สายพันธ์ุในผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในอเมริกา จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐขณะนี้มี 20 คนใน 11 มลรัฐ (เป็นชาย 19 คน หญิง 1 คน) โดยทั้ง 2 สายพันธ์ุที่พบล้วนเกี่ยวข้องกับไวรัสฝีดาษลิงสายพันธ์ุที่ระบาดในไนจีเรียตั้งแต่ปี 2017
5 มิ.ย. 2565
- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา หรือ CDC รายงานพบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงทั่วโลกแล้วมากกว่า 700 ราย โดยในสหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อ 21 ราย
- ผลการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า โรคฝีดาษลิงที่ระบาดนอกทวีปแอฟริกา เป็นการติดเชื้อในผู้ชายสูงถึง 98% และเป็นการติดเชื่อในผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-50 ปีเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ในแอฟริกาพบผู้ติดเชื้อเป็นผู้ชาย 70% ผู้หญิง 30% ที่เป็นการติดเชื้อในทุกกลุ่มอายุ
- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา หรือ CDC รายงานพบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงทั่วโลกแล้วมากกว่า 700 ราย โดยในสหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อ 21 ราย
- ผลการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า โรคฝีดาษลิงที่ระบาดนอกทวีปแอฟริกา เป็นการติดเชื้อในผู้ชายสูงถึง 98% และเป็นการติดเชื่อในผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-50 ปีเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ในแอฟริกาพบผู้ติดเชื้อเป็นผู้ชาย 70% ผู้หญิง 30% ที่เป็นการติดเชื้อในทุกกลุ่มอายุ
6 มิ.ย. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขไทยรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลกแล้ว 990 คน (ยืนยัน 920 ต้องสงสัย 70 คน) แต่ยังไม่พบในประเทศไทย ส่วนมากติดเชื้อจากคนสู่คนและเป็นผู้ชายเป็นส่วนใหญ่
- ขณะนี้โรคได้ระบาดไปแล้ว 43 ประเทศ โดยที่ประเทศอังกฤษมีรายงานผู้ติดเชื้อสุงสุดจำนวน 207 คน
- กระทรวงสาธารณสุขไทยรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลกแล้ว 990 คน (ยืนยัน 920 ต้องสงสัย 70 คน) แต่ยังไม่พบในประเทศไทย ส่วนมากติดเชื้อจากคนสู่คนและเป็นผู้ชายเป็นส่วนใหญ่
- ขณะนี้โรคได้ระบาดไปแล้ว 43 ประเทศ โดยที่ประเทศอังกฤษมีรายงานผู้ติดเชื้อสุงสุดจำนวน 207 คน
7 มิ.ย. 2565
- สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่าโรคฝีดาษลิงจะถูกกำหนดให้เป็นโรคที่สามารถแจ้งการระบาดต่อทางการ (notifiable disease) นับจากวันพุธที่ 8 มิถุนายนนี้ ซึ่งหมายความว่า บรรดาแพทย์ในสหราชอาณาจักรจะต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่น เมื่อพวกเขาสงสัยว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสดังกล่าว
- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกาเพิ่มการเตือนภัยระดับ 2 สำหรับผู้เดินทางให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันขั้นสูงอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคฝีดาษลิง และแนะนำพบแพทย์ทันทีหากมีผื่นที่ผิวหนังใหม่โดยไม่ทราบสาเหตุ
- สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่าโรคฝีดาษลิงจะถูกกำหนดให้เป็นโรคที่สามารถแจ้งการระบาดต่อทางการ (notifiable disease) นับจากวันพุธที่ 8 มิถุนายนนี้ ซึ่งหมายความว่า บรรดาแพทย์ในสหราชอาณาจักรจะต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่น เมื่อพวกเขาสงสัยว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสดังกล่าว
- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกาเพิ่มการเตือนภัยระดับ 2 สำหรับผู้เดินทางให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันขั้นสูงอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคฝีดาษลิง และแนะนำพบแพทย์ทันทีหากมีผื่นที่ผิวหนังใหม่โดยไม่ทราบสาเหตุ
8 มิ.ย. 2565
- องค์การอนามัยโลกรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงทั่วโลก จำนวน 1,019 คน กระจายในทุกทวีปที่มีผู้คนอาศัยอยู่ (ยกเว้นแอนตาร์กติกา ; ขั้วโลกใต้)
9 มิ.ย. 2565
- องค์การอนามัยโลก รายงานยอดผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงนอกทวีปแอฟริกาทะลุ 1,000 คนแล้ว ใน 29 ประเทศ
- ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐอเมริการะบุว่าไวรัสฝีดาษลิงสามารถแพร่กระจายทางอากาศและติดต่อทางอากาศได้ ถ้าอยู่ใกล้กันมากพอและนานพอ
- โปรตุเกสรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อกว่า 150 คน สูงเป็นอันดับ 3 ในยุโรป รองจากสเปน (200 คน) และประเทศอังกฤษ (300 คน)
- คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ประกาศเพิ่มโรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
- องค์การอนามัยโลกรายงานผลการถอดจีโนมหรือรหัสพันธุกรรมของไวรัสฝีดาษลิง พบว่ามีการระบาด 2 สายพันธุ์ในเวลาเดียวกัน มีแนวโน้มจะมีความรุนแรงของโรคสูงกว่าไวรัสโควิด-19
- อิสราเอลรายงานการตรวจพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายที่ 4 ของประเทศ โดยมีประวัติเพิ่มเดินทางกลับจากต่างประเทศ
- องค์การอนามัยโลก รายงานยอดผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงนอกทวีปแอฟริกาทะลุ 1,000 คนแล้ว ใน 29 ประเทศ
- ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐอเมริการะบุว่าไวรัสฝีดาษลิงสามารถแพร่กระจายทางอากาศและติดต่อทางอากาศได้ ถ้าอยู่ใกล้กันมากพอและนานพอ
- โปรตุเกสรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อกว่า 150 คน สูงเป็นอันดับ 3 ในยุโรป รองจากสเปน (200 คน) และประเทศอังกฤษ (300 คน)
- คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ประกาศเพิ่มโรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
- องค์การอนามัยโลกรายงานผลการถอดจีโนมหรือรหัสพันธุกรรมของไวรัสฝีดาษลิง พบว่ามีการระบาด 2 สายพันธุ์ในเวลาเดียวกัน มีแนวโน้มจะมีความรุนแรงของโรคสูงกว่าไวรัสโควิด-19
- อิสราเอลรายงานการตรวจพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายที่ 4 ของประเทศ โดยมีประวัติเพิ่มเดินทางกลับจากต่างประเทศ
10 มิ.ย. 2565
- กรมควบคุมโรครายงานการแพร่ระบาดฝีดาษลิง รวม 1,186 ราย ใน 44 ประเทศ ขณะที่ไทยยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ
- บราซิลยืนยันการตรวจพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกของประเทศในเมืองเซาเปาโล
- กรมควบคุมโรครายงานการแพร่ระบาดฝีดาษลิง รวม 1,186 ราย ใน 44 ประเทศ ขณะที่ไทยยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ
- บราซิลยืนยันการตรวจพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกของประเทศในเมืองเซาเปาโล
11 มิ.ย. 2565
- สหรัฐอเมริกาสั่งซื้อวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงเพิ่มอีกจำนวน 500,000 โดส จากบริษัทบาวาเรียน นอร์ดิก ประเทศเดนมาร์ก จากเคยสั่งซื้อไว้แล้ว 1.4 ล้านโดส หลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 45 คน
- จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเพิ่มขึ้นเป็น 1,300 คน ใน 29 ประเทศ ส่วนใหญ่พบการระบาดอยู่ในยุโรป
- สหรัฐอเมริกาสั่งซื้อวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงเพิ่มอีกจำนวน 500,000 โดส จากบริษัทบาวาเรียน นอร์ดิก ประเทศเดนมาร์ก จากเคยสั่งซื้อไว้แล้ว 1.4 ล้านโดส หลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 45 คน
- จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเพิ่มขึ้นเป็น 1,300 คน ใน 29 ประเทศ ส่วนใหญ่พบการระบาดอยู่ในยุโรป
12 มิ.ย. 2565
- องค์การอนามัยโลกรายงานผู้ติดเชื้อยืนยันทั่วโลกแล้ว 1,588 ราย เข้าข่ายติดเชื้ออีก 68 ราย รวมทั้งหมด 1,656 ราย โดยที่ประเทศสเปนมีผู้ติดเชื้อสูงสุด 369 ราย รองลงมาคือสหราชอาณาจักร 360 ราย และ โปรตุเกส จำนวน 209 ราย ตามลำดับ
- องค์การอนามัยโลกรายงานผู้ติดเชื้อยืนยันทั่วโลกแล้ว 1,588 ราย เข้าข่ายติดเชื้ออีก 68 ราย รวมทั้งหมด 1,656 ราย โดยที่ประเทศสเปนมีผู้ติดเชื้อสูงสุด 369 ราย รองลงมาคือสหราชอาณาจักร 360 ราย และ โปรตุเกส จำนวน 209 ราย ตามลำดับ
14 มิ.ย. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ เปิดเผยว่าในรอบ 24 ชั่วโมง พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายใหม่เพิ่มขึ้น 104 คน รวมยอดผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงสะสมในอังกฤษอยู่ที่ 470 คน โดยที่ร้อยละ 99 เป็นกลุ่มชายรักชาย
- องค์การอนามัยโลก กำลังศึกษาที่จะเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิงเป็นชื่ออื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อโรคซึ่งสื่อถึงภูมิภาคหรือสัตว์
- กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ เปิดเผยว่าในรอบ 24 ชั่วโมง พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายใหม่เพิ่มขึ้น 104 คน รวมยอดผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงสะสมในอังกฤษอยู่ที่ 470 คน โดยที่ร้อยละ 99 เป็นกลุ่มชายรักชาย
- องค์การอนามัยโลก กำลังศึกษาที่จะเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิงเป็นชื่ออื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อโรคซึ่งสื่อถึงภูมิภาคหรือสัตว์
15 มิ.ย. 2565
- เม็กซิโกรายงานพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศแล้ว 5 ราย
- สหภาพยุโรปสั่งซื้อวัคซีนฝีดาษลิง 109,090 โดส เพื่อเตรียมพร้อมรับมือการระบาด
- มีรายงานพบผู้เสียชีวิตจากฝีดาษลิงรายแรกนอกทวีปแอฟริกา โดยเป็นผู้ป่วยในประเทศบราซิล
- มีรายงานการแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษลิงแล้ว 39 ประเทศ
- องค์การอนามัยโลกกำลังตรวจสอบกรณีตรวจพบเชื้อไวรัสฝีดาษลิงในน้ำอสุจิ เกรงจะเกิดการติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- เม็กซิโกรายงานพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศแล้ว 5 ราย
- สหภาพยุโรปสั่งซื้อวัคซีนฝีดาษลิง 109,090 โดส เพื่อเตรียมพร้อมรับมือการระบาด
- มีรายงานพบผู้เสียชีวิตจากฝีดาษลิงรายแรกนอกทวีปแอฟริกา โดยเป็นผู้ป่วยในประเทศบราซิล
- มีรายงานการแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษลิงแล้ว 39 ประเทศ
- องค์การอนามัยโลกกำลังตรวจสอบกรณีตรวจพบเชื้อไวรัสฝีดาษลิงในน้ำอสุจิ เกรงจะเกิดการติดต่อทางเพศสัมพันธ์
16 มิ.ย. 2565
- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลก 1,900 คน ในกว่า 30 ประเทศนอกแอฟริกา ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป โดยประเทศอังกฤษพบผู้ติดเชื้อสูงที่สุดกว่า 500 คน
- WHO เตรียมพิจารณาโรคฝีดาษลิงว่าเข้าข่ายภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขหรือไม่
- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลก 1,900 คน ในกว่า 30 ประเทศนอกแอฟริกา ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป โดยประเทศอังกฤษพบผู้ติดเชื้อสูงที่สุดกว่า 500 คน
- WHO เตรียมพิจารณาโรคฝีดาษลิงว่าเข้าข่ายภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขหรือไม่
18 มิ.ย. 2565
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สุ่มตรวจลิงลพบุรี ปรากฎว่าไม่พบเชื้อฝีดาษลิงแต่อย่างใด
- ประเทศลักเซมเบิร์ก ชิลี และเซอร์เบีย รายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงคนแรกของประเทศ
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สุ่มตรวจลิงลพบุรี ปรากฎว่าไม่พบเชื้อฝีดาษลิงแต่อย่างใด
- ประเทศลักเซมเบิร์ก ชิลี และเซอร์เบีย รายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงคนแรกของประเทศ
19 มิ.ย. 2565
- องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 2,103 คน ใน 42 ประเทศ
- องค์การอนามัยโลกจะจัดประชุมฉุกเฉิน ในวันที่ 23 มิถุนายน 2565 เพื่อพิจารณาว่าจะจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงในขณะนี้ได้อย่างไร
- องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 2,103 คน ใน 42 ประเทศ
- องค์การอนามัยโลกจะจัดประชุมฉุกเฉิน ในวันที่ 23 มิถุนายน 2565 เพื่อพิจารณาว่าจะจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงในขณะนี้ได้อย่างไร
22 มิ.ย. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์แถลงยืนยันการตรวจพบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิง ผู้ป่วยเป็นชายชาวอังกฤษอายุ 42 ปี เป็นพนักงานบนเครื่องบิน ได้เดินทางเข้าออกสิงคโปร์ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2565
- กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์แถลงยืนยันการตรวจพบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิง ผู้ป่วยเป็นชายชาวอังกฤษอายุ 42 ปี เป็นพนักงานบนเครื่องบิน ได้เดินทางเข้าออกสิงคโปร์ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2565
23 มิ.ย. 2565
- จำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลก เพิ่มขึ้นเป็น 3,417 คนใน 58 ประเทศ
- สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้ หรือ KDCA ยืนยันการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศรายแรก โดยเป็นชาวเกาหลีใต้ที่เดินทางจากเยอรมนี
- จำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลก เพิ่มขึ้นเป็น 3,417 คนใน 58 ประเทศ
- สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้ หรือ KDCA ยืนยันการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศรายแรก โดยเป็นชาวเกาหลีใต้ที่เดินทางจากเยอรมนี
24 มิ.ย. 2565
- ไต้หวันรายงานพบผู้ติดเชื้อรายแรกของประเทศ หลังเดินทางกลับมาจากประเทศเยอรมนี
- ไต้หวันรายงานพบผู้ติดเชื้อรายแรกของประเทศ หลังเดินทางกลับมาจากประเทศเยอรมนี
- เยอรมนีรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายใหม่ 71 ราย เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในหนึ่งวัน โดยมียอดผู้ติดเชื้อรวมทั้งประเทศ 592 คน
25 มิ.ย. 2565
- จำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลก เพิ่มทะลุ 3,500 คนแล้วในกว่า 50 ประเทศ โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยุโรปตะวันตก
- จำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลก เพิ่มทะลุ 3,500 คนแล้วในกว่า 50 ประเทศ โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยุโรปตะวันตก
26 มิ.ย. 2565
- องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงเป็นภัยคุกคามที่น่ากังวล แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
28 มิ.ย. 2565
- ยอดผู้ติดเชื้อยืนยันทั่วโลก 4,119 ราย ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป โดยอังกฤษติดเชื้อสูงสุด 873 ราย สเปน 736 รสย และเยอรมนี 676 ราย
2 ก.ค. 2565
- ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 5,000 ราย ใน 51 ประเทศ โดยผู้ติดเชื้อ 90% อยู่ในยุโรป
- ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 5,000 ราย ใน 51 ประเทศ โดยผู้ติดเชื้อ 90% อยู่ในยุโรป
7 ก.ค. 2565
- รัฐบาลสิงคโปร์ยืนยัน พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงจากการติดเชื้อภายในประเทศรายแรก
9 ก.ค. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย เพิ่มประกาศเพิ่มโรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
- กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย เพิ่มประกาศเพิ่มโรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
10 ก.ค. 2565
- ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) รายงานจำนวนผู้ป่วยฝีดาษลิงทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 8,238 ราย ซึ่งระบาดใน 57 ประเทศ โดยที่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ประเทศที่มีการระบาดมากที่สุดคือ สหราชอาณาจักร จำนวน 1,552 ราย ตามมาด้วยประเทศเยอรมนี 1,490 ราย และประเทศสเปน 1,256 ราย
- ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) รายงานจำนวนผู้ป่วยฝีดาษลิงทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 8,238 ราย ซึ่งระบาดใน 57 ประเทศ โดยที่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ประเทศที่มีการระบาดมากที่สุดคือ สหราชอาณาจักร จำนวน 1,552 ราย ตามมาด้วยประเทศเยอรมนี 1,490 ราย และประเทศสเปน 1,256 ราย
10 ก.ค. 2565
- รัสเซียรายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรกของประเทศ เป็นชายและเพิ่งเดินทางกลับจากยุโรป
- รัสเซียรายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรกของประเทศ เป็นชายและเพิ่งเดินทางกลับจากยุโรป
16 ก.ค. 2565
- ผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 10,000 ราย ใน 60 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย
- ผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 10,000 ราย ใน 60 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย
20 ก.ค. 2565
- ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 14,000 คน ใน 70 ประเทศ โดยที่องค์การอนามัยโลกกำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิดและอาจจะประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเร็ว ๆ นี้
- ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 14,000 คน ใน 70 ประเทศ โดยที่องค์การอนามัยโลกกำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิดและอาจจะประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเร็ว ๆ นี้
21 ก.ค. 2565
- กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายแรกของประเทศไทย ที่จังหวัดภูเก็ต เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรียและเดินทางเข้าออกประเทศไทยหลายครั้งแล้ว
22 ก.ค. 2565
- ผู้ป่วยรายแรกของไทยได้หนีการรักษา โดยหนีออกจากจังหวัดภูเก็ตและเดินทางไปยังประเทศกัมพูชาผ่านทางช่องทางธรรมชาติ
23 ก.ค. 2565
- ศูนย์ควบคุมป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา หรือ CDC เปิดเผยว่า พบเด็กเล็ก 2 ราย ติดเชื้อฝีดาษลิง โดยเป็นการติดเชื้อในครอบครัว ขณะนี้เด็กทั้งสองได้เข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว
- ศูนย์ควบคุมป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา หรือ CDC เปิดเผยว่า พบเด็กเล็ก 2 ราย ติดเชื้อฝีดาษลิง โดยเป็นการติดเชื้อในครอบครัว ขณะนี้เด็กทั้งสองได้เข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว
- องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งการประกาศนี้จะทำให้องค์การอนามัยโลกสามารถระดมทุนเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้มากขึ้น และจะเกิดความร่วมมือระดับนานาชาติในการรักษา และแบ่งปันวัคซีน รวมทั้งการออกมาตรการด้านการค้าและการเดินทาง โดยเฉพาะการคัดกรองผู้ติดเชื้อที่สนามบินได้
- ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุด สูงกว่า 16,000 ราย ใน 71 ประเทศ และมีผู้เสียชีวิต 5 ราย
- ผู้ป่วยรายแรกของไทยที่หนีการรักษาถูกจับกุมได้ที่ประเทศกัมพูชา โดยทางการกัมพูชาได้ควบคุมตัวเพื่อทำการรักษาต่อไป
26 ก.ค. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นรายงานการพบผู้ติดเชื้อรายแรก เป็นชายวัย 30 ปี ซึ่งมีประวัติเดินทางไปยุโรปและกลับถึงญี่ปุ่นในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
- CDC ของสหรัฐอเมริกา รายงานยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลก 18,095 รายใน 75 ประเทศ โดยประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงที่สุดคือสหรัฐอเมริกา ตามมาด้วยสเปน และเยอรมนี
28 ก.ค. 2565
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 2 ของประเทศไทย ซึ่งเข้ารับการรักษาที่วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร เป็นชายไทย อายุ 47 ปี มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชาวต่างชาติ
29 ก.ค. 2565
ขกระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์รายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงคนแรกของประเทศ เป็นชายวัย 31 ปี เพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ
30 ก.ค. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขสเปนรายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง 3,750 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย ในขณะที่บราซิลรายงานผู้เสียชีวิตจากฝีดาษลิงรายแรกของประเทศ
3 ส.ค. 2565
- กระทรวงสาธารณสุขไทยประกาศพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 3 ของประเทศไทยที่จังหวัดภูเก็ต โดยเป็นนักท่องเที่ยงชายชาวเยอรมันวัย 25 ปี ซึ่งเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา คาดว่าน่าจะติดเชื้อมาจากต่างประเทศ
- กระทรวงสาธารณสุขไทยประกาศพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 3 ของประเทศไทยที่จังหวัดภูเก็ต โดยเป็นนักท่องเที่ยงชายชาวเยอรมันวัย 25 ปี ซึ่งเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา คาดว่าน่าจะติดเชื้อมาจากต่างประเทศ
5 ส.ค. 2565
- ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกา หรือ CDC รายงานยอดผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลกล่าสุด จำนวน 26,208 ราย โดยประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา จำนวน 6,616 ราย รองลงมาคือสเปน 4,577 ราย และอันดับสามคือประเทศเยอรมนี จำนวน 2,781 ราย ส่วนในประเทศไทยยอดผู้ติดเชื้อยังอยู่ที่ 3 ราย
- กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานพบผู้ป่วยรายที่ 4 ของประเทศไทย ในกรุงเทพมหานคร เป็นหญิงวัย 22 ปี มีประวัติเที่ยวสถานบันเทิงที่มีชาวต่างชาติเที่ยวเยอะ
- กัวเตมาลายืนยันพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรกของประเทศ เป็นชายอายุ 31 ปี
- อินเดียยืนยันพบผู้ติดเชื้อเป็นหญิงคนแรกของประเทศ เป็นหญิงชาวไนจีเรีย อายุ 31 ปี ตรวจพบในกรุงนิวเดลี
- สหรัฐอเมริกาประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วประเทศ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการรับมือและต่อสู้กับการระบาดหนักของฝีดาษลิงแล้ว
- อินเดียยืนยันพบผู้ติดเชื้อเป็นหญิงคนแรกของประเทศ เป็นหญิงชาวไนจีเรีย อายุ 31 ปี ตรวจพบในกรุงนิวเดลี
- สหรัฐอเมริกาประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วประเทศ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการรับมือและต่อสู้กับการระบาดหนักของฝีดาษลิงแล้ว
7 ส.ค. 2565
CDC ของสหรัฐอเมริการายงานยอดผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงล่าสุดทั่วโลกอยู่ที่ 28,220 ราย กระจายอยู่ใน 88 ประเทศ โดยสหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อสูงสุด 7,509 ราย ตามมาด้วยสเปน 4,942 ราย และเยอรมนี 2,887 ราย ตามลำดับ
15 ส.ค. 2565
กรมควบคุมโรครายงานว่า ไทยพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 5 เป็นหญิงชาวไทย อายุ 25 ปี เพิ่งเดินทางกลับจากเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเข้ามาถึงไทยวันที่ 14 ส.ค.
กรมควบคุมโรครายงานว่า ไทยพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 5 เป็นหญิงชาวไทย อายุ 25 ปี เพิ่งเดินทางกลับจากเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเข้ามาถึงไทยวันที่ 14 ส.ค.
17 ส.ค. 2565
ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดมีจำนวน 37,687 ราย โดยประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานยอดผู้ติดเชื้อสูงสุดจำนวน 11,842 ราย ตามมาด้วยสเปน 5,946 ราย และเยอรมนี 3,186 ราย
ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดมีจำนวน 37,687 ราย โดยประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานยอดผู้ติดเชื้อสูงสุดจำนวน 11,842 ราย ตามมาด้วยสเปน 5,946 ราย และเยอรมนี 3,186 ราย
20 ส.ค. 2565
กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ยืนยันพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรกของประเทศในวันนี้ แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของผู้ป่วย
กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ยืนยันพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรกของประเทศในวันนี้ แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของผู้ป่วย
26 ส.ค. 2565
กรมควบคุมโรค รายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายที่ 6 ของประเทศไทย เป็นหญิงสัญชาติไทย ประกอบอาชีพพนักงานนวดแผนไทย เดินทางกลับจากประเทศกาตาร์ ตรวจพบเชื้อที่โรงพยาบาลในจังหวัดมหาสารคาม
กรมควบคุมโรค รายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายที่ 6 ของประเทศไทย เป็นหญิงสัญชาติไทย ประกอบอาชีพพนักงานนวดแผนไทย เดินทางกลับจากประเทศกาตาร์ ตรวจพบเชื้อที่โรงพยาบาลในจังหวัดมหาสารคาม
28 ส.ค. 2565
กรมควบคุมโรค รายงานการพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิงรายที่ 7 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นเพศหญิง มีประวัติมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชายชาวต่างชาติ
31 ส.ค. 2565
สหรัฐอเมริการายงานผู้เสียชีวิตรายแรกจากฝีดาษลิง จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดมากกว่า 18,000 ราย ส่วนยอดติดเชื้ออทั่วโลกพุ่งทะลุ 48,000 ราย และเสียชีวิต 15 ราย
2 ก.ย. 2565
เบลเยี่ยมรายงานผู้เสียชีวิตรายแรกจากโรคฝีดาษลิง แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ประเทศเบลเยี่ยมมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 709 ราย ในขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 51,000 รายแล้ว
9 ก.ย. 2565
ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มเป็น 52,792 ราย เสียชีวิต 121 ราย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ สหรัฐอเมริกา สเปน และบราซิล โดยมีผู้ติดเชื้อ 19,354, 6,618 และ 5,197 ราย ตามลำดับ
16 ก.ย. 2565
- กรมควบคุมโรค รายงานพบผู้ป่วยยืนยันฝีดาษลิงคนที่ 8 ของไทย เป็นชายอายุ 23 ปี ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากกาตาร์ สอบสวนประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีตุ่มบริเวณหลัง ลักษณะคล้ายสิว และเริ่มป่วย ขณะนี้เข้ารับการตรวจรักษาที่สถาบันบำราศนราดูร
- กรมควบคุมโรค รายงานพบผู้ป่วยยืนยันฝีดาษลิงคนที่ 8 ของไทย เป็นชายอายุ 23 ปี ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากกาตาร์ สอบสวนประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีตุ่มบริเวณหลัง ลักษณะคล้ายสิว และเริ่มป่วย ขณะนี้เข้ารับการตรวจรักษาที่สถาบันบำราศนราดูร
- ประเทศจีน ยูเครน และจอร์แดน รายงานผู้ติดเชื้อรายแรกในประเทศ
18 ก.ย. 2565
ยอดติดเชื้อยืนยันทั่วโลกล่าสุด 56,993 ราย เสียชีวิต 121 ราย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และสเปน โดยมีผู้ติดเชื้อ 21,894, 6,807 และ 6,749 ราย ตามลำดับ ส่วนในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อยืนยัน 8 ราย
ยอดติดเชื้อยืนยันทั่วโลกล่าสุด 56,993 ราย เสียชีวิต 121 ราย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และสเปน โดยมีผู้ติดเชื้อ 21,894, 6,807 และ 6,749 ราย ตามลำดับ ส่วนในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อยืนยัน 8 ราย
30 ก.ย. 2565
กรมควบคุมโรครายงานพบผู้ป่วยยืนยันฝีดาษลิงรายที่ 9 และ 10 ของประเทศไทย โดยรายที่ 9 เป็นเพศหญิงอายุ 37 ปี อาชีพพนักงานบริการ ส่วนรายที่ 10 เป็นชายชาวเยอรมันอายุ 54 ปี ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายที่ 9
กรมควบคุมโรครายงานพบผู้ป่วยยืนยันฝีดาษลิงรายที่ 9 และ 10 ของประเทศไทย โดยรายที่ 9 เป็นเพศหญิงอายุ 37 ปี อาชีพพนักงานบริการ ส่วนรายที่ 10 เป็นชายชาวเยอรมันอายุ 54 ปี ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายที่ 9