คำถาม ... เขื่อนผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย มีกี่แห่ง ที่ไหนบ้าง?
เฉลย ...
เขื่อนผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย มีทั้งหมด 11 แห่ง
เขื่อนเป็นสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ที่สร้างขวางลำน้ำเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ทั้งเพื่อการกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง ทั้งเพื่อการทดน้ำ และเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น ไฟฟ้าพลังน้ำที่ถูกสร้างจากเขื่อนต่าง ๆ นั้นนับว่าเป็นพลังงานที่สำคัญมาก ทั้งในเรื่องของพลังงานที่สะอาด ไม่มีการปล่อยมลพิษ รวมไปถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ไม่สูงจนเกินไปอีกด้วย
เขื่อนผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย มีดังนี้
1. เขื่อนภูมิพล
ชื่อเดิม : เขื่อนยันฮี
ที่ตั้ง : อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
กั้นลำน้ำ : แม่น้ำปิง
ประเภทเขื่อน : เขื่อนคอนกรีตโค้ง (Concrete Arch Gravity Dam)
ขนาด : สููง 154 เมตร ยาว 486 เมตร รัศมีความโค้ง 250 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2507
ขนาดความจุอ่าง : 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 779.2 เมกกะวัตต์
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ : 41,982 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
เขื่อนภูมิพล เขื่อนที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในประเทศไทย |
2. เขื่อนสิริกิติ์
ชื่อเดิม : เขื่อนผาซ่อม
ที่ตั้ง : อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
กั้นลำน้ำ : แม่น้ำน่าน
ประเภทเขื่อน : เขื่อนดิน (Earthfill Dam)
ขนาด : สููง 113.6 เมตร ยาว 800 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2527
ขนาดความจุอ่าง : 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 375,000 กิโลวัตต์
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ : 1,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
เขื่อนสิริกิติ์ |
3. เขื่อนศรีนครินทร์
ชื่อเดิม : เขื่อนเจ้าเณร
ที่ตั้ง : อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
กั้นลำน้ำ : แม่น้ำแควใหญ่
ประเภทเขื่อน : เขื่อนดินแกนดินเหนียว (Earthfill Dam)
ขนาด : สููง 140 เมตร ยาว 610 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2523
ขนาดความจุอ่าง : 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 720,000 กิโลวัตต์
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ : 1,140 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
เขื่อนศรีนครินทร์ |
4. เขื่อนวชิราลงกรณ์
ชื่อเดิม : เขื่อนเขาแหลม
ที่ตั้ง : อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
กั้นลำน้ำ : แม่น้ำแควน้อย
ประเภทเขื่อน : เขื่อนดินถมแบบมีแผ่นคอนกรีตกั้นน้ำด้านหน้า (Rockfill Dam with Facing Slab)
ขนาด : สููง 92 เมตร ยาว 1,019 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2527
ขนาดความจุอ่าง : 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 300,000 กิโลวัตต์
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ : 777 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
เขื่อนวชิราลงกรณ์ |
5. เขื่อนอุบลรัตน์
ที่ตั้ง : อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
กั้นลำน้ำ : แม่น้ำพอง
ประเภทเขื่อน : เขื่อนหินถม (Rockfill Dam)
ขนาด : สููง 32 เมตร ยาว 885 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2509
ขนาดความจุอ่าง : 2,263 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 25,200 กิโลวัตต์
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ : 56 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
เขื่อนอุบลรัตน์ |
6. เขื่อนสิรินธร
ที่ตั้ง : อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
กั้นลำน้ำ : แม่น้ำลำโดมน้อย
ประเภทเขื่อน : เขื่อนหินถมแบบแกนดินเหนียว (Rockfill Dam with Earth Core)
ขนาด : สููง 42 เมตร ยาว 940 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2514
ขนาดความจุอ่าง : 1,966 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 390,000 กิโลวัตต์
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ : 86 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
เขื่อนสิรินธร |
7. เขื่อนจุฬาภรณ์
ชื่อเดิม : เขื่อนน้ำพรม
ที่ตั้ง : อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
กั้นลำน้ำ : ลำน้ำพรม
ประเภทเขื่อน : เขื่อนหินถม (Rockfill Dam)
ขนาด : สููง 70 เมตร ยาว 700 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2515
ขนาดความจุอ่าง : 188 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 40,000 กิโลวัตต์
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ : 95 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
เขื่อนจุฬาภรณ์ |
8. เขื่อนแก่งกระจาน
ที่ตั้ง : อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
กั้นลำน้ำ : แม่น้ำเพชรบุรี
ประเภทเขื่อน : เขื่อนดิน (Earthfill Dam)
ขนาด : สููง 58 เมตร ยาว 760 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2509
ขนาดความจุอ่าง : 710 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 19,000 กิโลวัตต์
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ : 70 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
เขื่อนแก่งกระจาน |
9. เขื่อนปากมูล
ที่ตั้ง : อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
กั้นลำน้ำ : แม่น้ำมูล
ประเภทเขื่อน : เขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่น
ขนาด : สูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2537
ขนาดความจุอ่าง : -
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 136,000 กิโลวัตต์
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ : 280 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
เขื่อนปากมูล |
10. เขื่อนรัชชประภา
ชื่อเดิม : เขื่อนเชี่ยวหลาน
ที่ตั้ง : อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กั้นลำน้ำ : ลำน้ำคลองแสง
ประเภทเขื่อน : เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว (Rockfill Dam with Earth Core)
ขนาด : สูง 94 เมตร ยาว 761 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2531
ขนาดความจุอ่าง : 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 240,000 กิโลวัตต์
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ : 554 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
เขื่อนรัชชประภา |
11. เขื่อนลำตะคอง
ที่ตั้ง : อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
กั้นลำน้ำ : แม่น้ำลำตะคอง
ประเภทเขื่อน : เขื่อนดิน (Earthfill Dam)
ขนาด : สููง 40.30 เมตร ยาว 520 เมตร
ปีที่สร้างเสร็จ : พ.ศ. 2512
ขนาดความจุอ่าง : 310 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า : 1,000 เมกะวัตต์
เขื่อนลำตะคอง |
ที่มา ... การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เขื่อนในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นเขื่อนเอนกประสงค์ กล่าวคือเป็นเขื่อนที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงการใช้เพื่อบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน (ป้องกันน้ำท่วม) และในฤดูแล้ง (น้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภค และการไล่น้ำเค็ม) อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการปรับปรุงให้เขื่อนต่าง ๆ สามารถผลิตไฟฟ้าได้แบบผสมผสาน (Hybrid) กล่าวคือ มีการติดตั้งแผงโซลาเซลล์ หรือ เซลล์แสงอาทิตย์ในบริเวณผิวน้ำของอ่างเก็บน้ำในเขื่อน เพื่อผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ควบคู่ไปกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแบบเดิม ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นโดยไม่ต้องสร้างเขื่อนเพิ่มและไม่ต้องใช้ที่ดินในการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์อีกด้วย