คำถาม ... 20 จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าน้อยที่สุดในประเทศไทย มีจังหวัดอะไรบ้าง?
เฉลย ...
20 จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าน้อยที่สุดในประเทศไทย มีดังต่อไปนี้
อันดับ | จังหวัด | พื้นที่ป่า (ไร่) |
---|---|---|
1 | จังหวัดอ่างทอง | ไม่มีป่าไม้ |
2 | จังหวัดนนทบุรี | ไม่มีป่าไม้ |
3 | จังหวัดปทุมธานี | ไม่มีป่าไม้ |
4 | จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | 28.60 |
5 | จังหวัดสิงห์บุรี | 288.87 |
6 | กรุงเทพมหานคร | 4,018.14 |
7 | จังหวัดนครปฐม | 4,622.78 |
8 | จังหวัดพิจิตร | 11,302.12 |
9 | จังหวัดสมุทรปราการ | 17,545.34 |
10 | จังหวัดสมุทรสงคราม | 19,022.38 |
11 | จังหวัดสมุทรสาคร | 25,917.81 |
12 | จังหวัดปัตตานี | 68,544.63 |
13 | จังหวัดภูเก็ต | 69,662.10 |
14 | จังหวัดมหาสารคาม | 132,792.30 |
15 | จังหวัดหนองคาย | 144,399.33 |
16 | จังหวัดบึงกาฬ | 173,273.40 |
17 | จังหวัดระยอง | 181,483.36 |
18 | จังหวัดอำนาจเจริญ | 192,973.48 |
19 | จังหวัดร้อยเอ็ด | 218,020.06 |
20 | จังหวัดยโสธร | 218,858.85 |
![]() |
จังหวัดนนทบุรี 1 ใน 3 จังหวัดของประเทศไทยที่ไม่มีป่าไม้ |
ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าทั้งหมด 102,212,434.37 ไร่ คิดเป็น 31.59% ของพื้นที่ประเทศไทยที่มีทั้งหมด 323,528,699.65 ไร่ โดยมี 3 จังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ป่าไม้เลย คือ จังหวัดอ่างทอง จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี ส่วนจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดในประเทศไทยคือจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 9,556,205.76 ไร่ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราส่วนพื้นที่ป่าสูงที่สุดคือจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ป่า 6,753,040.05 ไร่ คิดเป็น 84.65% ของพื้นที่จังหวัด
พื้นที่ป่าแยกตามภาค
- ภาคเหนือมีพื้นที่ป่า 38,228,700.46 ไร่ คิดเป็น 63.66% ของพื้นที่
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ป่า 15,702,387.78 ไร่ คิดเป็น 14.98% ของพื้นที่
- ภาคกลางมีพื้นที่ป่า 12,240,542.44 ไร่ คิดเป็น 21.51% ของพื้นที่
- ภาคกลางมีพื้นที่ป่า 12,240,542.44 ไร่ คิดเป็น 21.51% ของพื้นที่
- ภาคตะวันออกมีพื้นที่ป่า 4,721,201.84 ไร่ คิดเป็น 21.91% ของพื้นที่
- ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่า 20,101,055.48 ไร่ คิดเป็น 59.05% ของพื้นที่
- ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่า 20,101,055.48 ไร่ คิดเป็น 59.05% ของพื้นที่
![]() |
แผนที่แสดงพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย |
เกร็ดความรู้
นิยามของป่าไม้ หมายถึง พื้นที่ปกคลุมของพืชพรรณที่สามารถจำแนกได้ว่าเป็นไม้ยืนต้นปกคลุมเป็นผืนต่อเนื่องขนาดไม่น้อยกว่า 3.125 ไร่ และหมายรวมถึงทุ่งหญ้าและลานหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่ปรากฏล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่จำแนกได้ว่าเป็นพื้นที่ป่าไม้ โดยไม่รวมถึงสวนยูคาลิปตัส หรือพื้นที่ที่มีต้นไม้ แต่ประเมินได้ว่าผลผลิตหลักของการดำเนินการไม่ใช่เนื้อไม้ ได้แก่ พื้นที่วนเกษตร สวนผลไม้ สวนยางพารา และสวนปาล์ม