คำถาม ... อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีกี่แห่ง ที่ไหนบ้าง?
เฉลย ...
อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มี 11 แห่ง
รายชื่ออุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีดังนี้
1. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ที่ตั้ง : อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เนื้อที่ : 4,810 ไร่
มรดกโลก : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2534 ในชื่อ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา |
2. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่ตั้ง : อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
เนื้อที่ : 43,750 ไร่
มรดกโลก : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2534 ในชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย |
3. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่ตั้ง : อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เนื้อที่ : 28,217 ไร่
มรดกโลก : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2534 ในชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย |
4. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ที่ตั้ง : อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
เนื้อที่ : 2,114 ไร่
มรดกโลก : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2534 ในชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร |
5. อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
ที่ตั้ง : อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
เนื้อที่ : 718 ไร่
มรดกโลก : ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ |
6. อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ที่ตั้ง : อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
เนื้อที่ : 451 ไร่
มรดกโลก : ขึ้นทะเบียนอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของมรดกโลกแล้ว
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง |
7. อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ที่ตั้ง : อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
เนื้อที่ : 2,658 ไร่
มรดกโลก : เคยขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดกโลก
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย |
8. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
ที่ตั้ง : อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
เนื้อที่ : 188 ไร่
มรดกโลก : ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง เพชรบุรี) |
9. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
ที่ตั้ง : อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
เนื้อที่ : 3,430 ไร่
มรดกโลก : ขึ้นทะเบียนอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของมรดกโลกแล้ว
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท |
10. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
ที่ตั้ง : อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
เนื้อที่ : 2,889 ไร่
มรดกโลก : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ในนาม เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานทวารวดีที่เกี่ยวเนื่อง
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ |
11. อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม
ที่ตั้ง : อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
เนื้อที่ : 641 ไร่
มรดกโลก : ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก
อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม |
อุทยานประวัติศาสตร์ (Historical Park) หมายถึง บริเวณสถานที่ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1. อาคารสถาปัตยกรรม ซากโบราณสถาน ที่อยู่อาศัย วัดวาอาราม และศาสนสถาน
2. สภาพแวดล้อมของโบราณสถานรวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น สระน้ำ คูคลอง ถนนและทางเดิน สวนป่า
3. การผสมผสานกันระหว่างการก่อสร้างของมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม
อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อยู่ในการดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยที่โบราณสถานที่ได้รับการยกขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งล่าสุดของประเทศไทย คือ ปราสาทสด๊กก๊อกธม ซึ่งเป็นปราสาทหินศิลปะขอมและโบราณสถานที่ใหญ่และสำคัญของจังหวัดสระแก้ว ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2560
อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว 4 แห่ง คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนขั้นต้นของมรดกโลกแล้วมี 3 แห่ง คือ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ