เมืองหลวงอาเซียน มีเมืองอะไรบ้าง?

คำถาม ... เมืองหลวงอาเซียน มีเมืองอะไรบ้าง?

เฉลย ...

อาเซียน หรือ สมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations, ASEAN) คือการรวมตัวของประเทศที่ตั้งอยู่ในพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกอยู่จำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศบรูไน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศกัมพูชา และประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีประเทศผู้สังเกตุการณ์ ซึ่งจะเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติมในอนาคตอีก 2 ประเทศ คือ ติมอร์เลสเตและปาปัวนิวกินี โดยสำนักงานใหญ่ของอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

และเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก สมาชิกของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศก็มีเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางของประเทศเช่นเดียวกัน เรามาดูกันว่าเมืองหลวงอาเซียนมีเมืองอะไรกันบ้าง...

เมืองหลวงอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ มีดังนี้ (เรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษของประเทศ)

1. กรุงบันดา เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan) เมืองหลวงของประเทศบรูไน

กรุงบันดา เสรี เบกาวัน หรือ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศบรูไน ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยเป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของประเทศ เป็นเมืองที่มีเนื้อที่เพียง 100.37 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 140,000 คน (276,608 คน เมื่อรวมเขตปริมณฑลแล้ว) ในสมัยการล่าอาณานิคมของประเทศฝั่งยุโรป เมืองนี้เคยตกอยู่ใต้การยึดครองของประเทศอังกฤษ โดยถูกเรียกว่าเมืองบรูไน ซึ่งภายหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้วจึงกลับมาใช้ชื่อ บันดา เสรี เบกาวัน อีกครั้ง  ปัจจุบันกรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันเป็นศูนย์กลางการเงิน ธุรกิจ การค้า และการอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งยังเป็นสถานที่ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติอีกด้วย

ภาพบางส่วนของกรุงบันดา เสรี เบกาวัน


ภาพแสดงที่ตั้งของกรุงบันดา เสรี เบกาวัน

2. กรุงพนมเปญ (Phnom Penh) เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา

กรุงพนมเปญ หรือ พนุมปึญ หรือ ราชธานีพนมเปญ เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางตอนกลาง ของประเทศ มีเนื้อที่ 678.46 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 2,300,000 คน พนมเปญเป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศกัมพูชา เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน การเงิน การค้าขาย การศึกษา และการลงทุนจากต่างประเทศ ในยุคล่าอาณานิคมพนมเปญตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝรั่งเศส ภายใต้สนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1866 และต่อมาได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1953

ภาพบางส่วนของกรุงพนมเปญ


ภาพแสดงที่ตั้งกรุงพนมเปญ


3. กรุงจาการ์ตา (Jakarta) เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย

กรุงจาร์กาตา หรือชื่อเดิม บาตาฟียา หรือ บัตเตเวีย หรือ บาตาเวีย เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด 1 ใน 5 ของอินโดนีเซีย มีพื้นที่ในเขตเมืองหลวงพิเศษประมาณ 664.01 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 10.5 ล้านคน (2021) แต่ถ้านับเขตปริมณฑลด้วย จะมีพื้นที่ 6,392 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 34,540,000 ล้านคน ซึ่งนับว่าค่อนข้างหนาแน่น จาการ์ต้าเป็นเมืองใหญ่ที่ทันสมัยและสวยงาม เป็นศูนย์กลางในทุก ๆ ด้านของประเทศอินโดนีเซีย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง แหล่งการศึกษา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศนอกเหนือไปจากเกาะบาหลี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะชวา


ภาพบางส่วนของกรุงจาการ์ตา


ภาพแสดงที่ตั้งของกรุงจาการ์ตา


4. กรุงเวียงจันทน์ (Vientiane) เมืองหลวงของประเทศ สปป. ลาว

กรุงเวียงจันทน์ หรือ นครหลวงเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศลาวในเขตลุ่มแม่น้ำโขง โดยอยู่ติดกับจังหวัดหนองคายของประเทศไทย (มีแม่น้ำโขงคั่นกลาง) เวียงจันทน์เป็นเมืองโบราณมีอายุมากกว่าหนึ่งพันปี ได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวงตั้งแต่สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชในราวพุทธศตวรรษที่ 15 เวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญที่สุดของประเทศลาว มีพื้นที่ประมาณ 3,920 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 950,000 คน (2022) เวียงจันทน์เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามมานานหลายร้อยปี ต่อมาในยุคการล่าอาณานิคม เวียงจันทน์ถูกยึดครองโดยประเทศฝรั่งเศสในปี 1893 ก่อนจะได้รับเอกราชในปี 1953 (ปีเดียวกับที่กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่เศส)


ภาพบางส่วนของกรุงเวียงจันทร์


ภาพแสดงที่ตั้งกรุงเวียงจันทน์ (สีแดง)


5. กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย

กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) หรือ กัวลาลุมปูร์ หรือ เคแอล (KL) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศมาเลเซียใกล้กับฝั่งทะเลอันดามัน โดยที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ราว 243 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรราว 1.7 ล้านคน แต่ถ้ารวมพื้นที่ปริมณฑลจะมีพื้นที่ 2,243.27 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 7,564,000 คน กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้รับการก่อตั้งและสถาปนาเป็นเมืองหลวงของมาเลเซียเมื่อปี ค.ศ. 1857 โดยที่คนมาเลย์ส่วนนิยมใหญ่เรียกกัวลาลัมเปอร์ว่า เคแอล (KL)


ภาพบางส่วนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ยามค่ำคืน



ภาพแสดงที่ตั้งกรุงกัวลาลัมเปอร์


6. กรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw) เมืองหลวงของประเทศเมียนมาร์ (พม่า)

กรุงเนปิดอว์ หรือ เนปยีดอ (Naypyidaw) ถูกสถานปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศเมียนม่าร์หรือพม่าแทนกรุงย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่ามาอย่างยาวนาน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดในขณะนั้น ด้วยเหตุผลหลักในด้านการบริหารประเทศได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกรุงเนปิดอว์ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศพอดี กรุงเนปิดอว์มีพื้นที่ 7,054.37 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรราว 1,100,000 คน


ภาพบางส่วนของกรุงเนปิดอว์


ภาพแสดงที่ตั้งกรุงเนปิดอว์


7. กรุงมะนิลา (Manila) เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์

กรุงมะนิลา (Manila) ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่ง วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การศึกษา และการอุตสหากรรมของประเทศ ตัวเมืองของกรุงมะนิลามีเนื้อที่ 42.34 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 1.85 ล้านคน แต่เมื่อรวมปริมณฑลด้วย จะมีเนื้อที่ 1,873 ตารางกิโลเมตร มีประชากรมากราว 25 ล้านคน ในยุคล่าอาณานิคม กรุงมะนิลาตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสเปนและอยู่ภายใต้การดูแลของประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ราว 400 ปี


ภาพแสดงบางส่วนของกรุงมะนิลา



ภาพแสดงที่ตั้งกรุงมะนิลา


8. สิงคโปร์ (Singapore) เมืองหลวงของประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ แต่ใช้พื้นที่ทั้งประเทศเป็นเมืองหลวง สิงค์โปร์ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมมาลายู มีพื้นที่ 733.10 ตารางกิโลเมตร และประชากรราว 5.6 ล้านคน สิงคโปร์เป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรอะไรเลย แต่กลับเป็นประเทศที่มีความเจริญเป็นอย่างมาก โดยเป็นศูนย์ทางด้านเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุนของภูมิภาค มีบริษัทต่างชาติมาตั้งสำนักงานจำนวนมากมาย มีระบบขนส่งภายในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค


ภาพแสดงบางส่วนของสิงคโปร์



ภาพแสดงที่ตั้งของสิงค์โปร์


9. กรุงเทพมหานคร (Bangkok) เมืองหลวงของประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร (Bangkok, Krung Thep Maha Nakhon) หรือ บางกอก ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2325 พร้อมกับการสถาปนาราชวงศ์จักรี เดิมใช้ชื่อจังหวัดพระนคร ก่อนจะรวมกับจังหวัดธนบุรีในปี 2514 ในชื่อใหม่ นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ก่อนจะเปลี่ยนอีกครั้งเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,568.737 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 5.5 ล้านคน (2565) แต่ถ้ารวมปริมณฑล จะมีพื้นที่ 7,761.60 ล้านคน มีประชากรราว 15 ล้านคน (2565)


ภาพบางส่วนของกรุงเทพมหานครในยามค่ำคืน



ภาพแสดงที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร


10. กรุงฮานอย (Ha Noi) เมืองหลวงของประเทศเวียดนาม

ฮานอย (Ha Noi) หรือ ห่าโหน่ย เดิมเป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนามเหนือ เมื่อเวียดนามเหนือได้รับชัยชนะในสงครามเวียดนามและได้รวมเวียดนามใต้เข้าเป็นส่วนหนึ่งแล้ว จึงสถาปนาให้ฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศ ส่วนเมืองหลวงของเวียดนามใต้คือไซง่อน ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโฮจิมินห์ กรุงฮานอยเป็นเมืองใหญ่และเมืองสำคัญที่สุดของประเทศ เป็นศูยน์กลางการเมืองการปกครอง ส่วนเมืองโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในด้านการค้า การลงทุน การอุตสาหกรรมและการขนส่งทางทะเล


ภาพบางส่วนของกรุงฮานอยในยามค่ำคืน



ภาพแสดงที่ตั้งของกรุงฮานอย


เมืองหลวงอาเซียนทั้ง 10 เมือง (ภาษาไทยจะเรียกนำหน้าเมืองหลวงด้วยคำว่า "กรุง") มักเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของแต่ละประเทศ เป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า การลงทุน การเงินการธนาคาร การศึกษา และการคมนาคมขนส่งของประเทศนั้นๆ และมักกจะเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานด้วยเช่นกัน


------------------------------------------

เรื่องน่ารู้อาเซียน



อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ