ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คืออะไร มีอะไรบ้าง?

คำถาม ... ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คืออะไร มีอะไรบ้าง?

เฉลย ...

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ ภาพรวมของแผนการพัฒนาประเทศ ที่กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ "ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" หรือตามคติพจน์ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" เพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ โดยที่รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆให้สอดคล้องและบูรณาการกัน เพื่อให้เกิดพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนำไปสู่ การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง  ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน โดยมีระยะเวลาการบังคับใช้นาน 20 ปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2580




การประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย

1. ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
2. ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
4. ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
5.  ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
6. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ 6 ด้าน ได้แก่

1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง

  • การรักษาความสงบภายในประเทศ
  • การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง
  • การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ
  • การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ
  • การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม

2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

  • การเกษตรสร้างมูลค่า
  • อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
  • สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว
  • โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลก
  • พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่

3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

  • การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม
  • การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
  • ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
  • การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย
  • การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญา และสังคม
  • การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
  • การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ

4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

  • การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ
  • การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี
  • การเสริมสร้างพลังทางสังคม
  • การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเอง

5. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว
  • สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล
  • สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
  • พัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้นความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
  • พัฒนาความมั่นคงน้้า พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อก้าหนดอนาคตประเทศ

6. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

  • ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใสภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมกับภารกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
  • ภาครัฐมีความทันสมัย
  • บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก มีความสามารถสูง มุ่งมั่น และเป็นมืออาชีพ
  • ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  • กฎหมายมีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ และมีเท่าที่จำเป็น
  • กระบวนการยุติธรรมเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อประชาชนโดยเสมอภาค

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ มีใครบ้าง?

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย
1. นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ

2. ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง

3. ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง

4. รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
คนที่สาม

5. ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการ
ทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคง
แห่งชาติ ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกร
แห่งชาติ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
ไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย
เป็นกรรมการ

6. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมี
อายุไม่เกินเจ็ดสิบห้าปี ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ในด้านความมั่นคง
ด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือด้าน
อื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ จำนวนไม่เกิน 17 คน

  • ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  • ซึ่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย และรองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
  • ในการแต่งตั้งกรรมการตาม (6) ให้คำนึงถึงความหลากหลายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และ
  • ความหลากหลายของช่วงอายุด้วย
  • ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการตาม (2) (3) (4) หรือ (5) ให้คณะกรรมการ
  • ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่


หมายเหตุ ... ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีถูกจัดทำขึ้นตามพระราชบัญญัติ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560



อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ