ดวงจันทร์ หมายถึง ดวงดาว หรือ วัตถุอวกาศ ที่เป็นบริวารและโคจรรอบดาวเคราะห์ หรือดาวเคราะห์แคระ เป็นวัถุอวกาศที่มีลักษณะภายนอกเหมือนดาวเคราะห์ทั่วไปที่ไม่มีแสงในตัวเอง แต่มีขนาดเล็กกว่าและมวลน้อยกว่าดาวแม่ ดังนั้นจึงตกอยู่ในอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดาวแม่ ดวงจันทร์ขนาดใหญ่มักมีสัณฐานกลม ในขณะที่ดวงจันทร์ขนาดเล็กมักมีสัณฐานไม่กลม บางดวงก็มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว
ในระบบสุริยะของเรานั้นมีดวงจันทร์ซึ่งเป็นบริวารของดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แคระอยู่มากมาย บางดวงมีขนาดใหญ่มากกว่าดาวเคราะห์เสียอีก ในขณะที่บางดวงก็มีขนาดเล็กมากจนแยกแทบไม่ออกว่ามันคือดวงจันทร์หรืออุกาบาตกันแน่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะกันดีกว่า เริ่มกันเลย...
20 อันดับ ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
อันดับ
|
ดวงจันทร์
|
ขนาด (ก.ม.)
|
ดาวเคราะห์แม่
|
---|---|---|---|
1 | Ganymede | 5,268 | ดาวพฤหัส |
2 | Titan | 5,151 | ดาวเสาร์ |
3 | Callisto | 4,821 | ดาวพฤหัส |
4 | Io | 3,642 | ดาวพฤหัส |
5 | Luna | 3,474 | โลก |
6 | Europa | 3,122 | ดาวพฤหัส |
7 | Triton | 2,707 | เนปจูน |
8 | Titania | 1,578 | ยูเรนัส |
9 | Rhea | 1,527 | ดาวเสาร์ |
10 | Oberon | 1,523 | ยูเรนัส |
11 | Iapetus | 1,470 | ดาวเสาร์ |
12 | Charon | 1,212 | พลูโต |
13 | Umbriel | 1,169 | ยูเรนัส |
14 | Ariel | 1,158 | ยูเรนัส |
15 | Dione | 1,123 | ดาวเสาร์ |
16 | Tethys | 1,060 | ดาวเสาร์ |
17 | Dysnomia | 700 | อีรีส |
18 | Enceladus | 504 | ดาวเสาร์ |
19 | Miranda | 471 | ยูเรนัส |
20 | Proteus | 420 | เนปจูน |
หมายเหตุ : ขนาดในที่นี้หมายถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง, หน่วยเป็นกิโลเมตร
จากตารางด้านบนจะพบว่าดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะคือ ดวงจันทร์แกนิมีด (Ganymede) ซึ่งเป็นดวงจันทร์ของดาวพฤหัส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5,268 กิโลเมตร มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลก (Luna, ชื่อดวงจันทร์ของโลก) ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,474 กิโลเมตรเกือบ 2 เท่าเลยทีเดียว นับว่าเป็นดวงจันทร์ที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะดวงนี้เพิ่มเติมกันดีกว่า
ดวงจันทร์แกนิมีด ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ |
ดวงจันทร์แกนิมีด หรือ Jupiter III ถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ผู้เรืองนามชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ต่อมากาลิเลโอจึงได้ตั้งชื่อดวงจันทร์ที่เพิ่งค้นพบนี้ว่าแกนิมีด (Ganymede) ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามเทพแกนีมีดในตำนานเทพเจ้ากรีก ผู้เป็น 1 ใน 4 ที่รักของเทพซูส นอกจากนี้กาลิเลโอยังค้นพบดวงจันทร์ขนาดใหญ่ของดาวพฤหัสอีก 3 ดวง โดยตั้งชื่อว่า ไอโอ (Io), ยูโรปา (Europa) และ คาลลิสโต (Callisto) ซึ่งทุกดวงถูกตั้งชื่อตามเทพเจ้ากรีกอันเป็นที่รักของเทพซูสทั้งหมด ซึ่งดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวงนี้มักถูกเรียกรวมกัน กลุ่มดวงจันทร์ Galilean moon
ภาพแสดงการเปรียบเทียบขนาดดวงจันทร์แกนิมีดกับโลก และ Luna ดวงจันทร์ของโลก |
ดวงจันทร์แกนิมีดเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบว่ามีสนามแม่เหล็กเป็นของตัวเอง โดยเป็นสนามแม่เหล็กพลังสูง และสูงกว่าสนามแม่เหล็กที่ดาวแม่หรือดาวพฤหัสส่งมาถึงตัวมันเองนับล้านเท่า พื้นผิวของดวงจันทร์ดวงนี้มีความซับซ้อนทางทางธรณีที่ชั้นผิวเปลือกสูงมากจนแทบไม่ต่างจากดาวเคราะห์หินทั่วไป เช่นดาวอังคารหรือดาวเคราะห์แคระพลูโต และผิวชั้นนอกยังขรุขระ มีทั้งเนินสูงและแอ่งหลุมลึก มีรอกแยกทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่มากมายเต็มไปด้วยหลุมอุกาบาต และยังมีการค้นพบน้ำแข็งเกาะอยู่ตามก้อนดินและก้อนหินตามพื้นผิวอีกด้วย
ภาพแสดงโครงสร้างภายในของดวงจันทร์แกนิมีด |
ดวงจันทร์แกนิมีดอยู่ห่างจากดาวแม่หรือดาวพฤหัส 1,071,600 กิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 3 เท่าของระยะห่างจากดวงจันทร์ของโลกกับโลก แต่ใช้เวลาโคจรรอบดาวพฤหัส 1 รอบเพียงแค่ 7.15 วันเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นความเร็วของการโคจรถึง 10.88 กิโลเมตรต่อวินาที ในขณะที่ดวงจันทร์ของโลกโคจรรอบโลก 1 รอบใช้เวลา 29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที 2.9 วินาที คิดเป็นความเร็วการโคจร 1.022 กิโลเมตรต่อวินาที)
สรุปข้อมูลที่น่าสนใจของดวงจันทร์แกนิมีด
- เส้นผ่านศูนย์กลาง 5,268 กิโลเมตร
- ค้นพบเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 โดยกาลิเลโอ
- ชื่ออื่น : Jupiter III
- มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ (ดาวพุธมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,879.4 กิโลเมตร)
- มีสนามแม่เหล็กเป็นของตัวเอง สนามแม่เหล็กทำหน้าที่ปกป้องชั้นบรรยากาศของดาว
- อยู่ห่างจากดาวพฤหัส 1,071,600 กิโลเมตร
- โคจรรอบดาวพฤหัสใช้เวลา 7.15 วัน
- ความเร็วในการโคจร 10.880 กิโลเมตรต่อวินาที
- พื้นที่ผิว 8.72×10^7 ตารางกิโลเมตร (2.3 เท่าของดวงจันทร์โลก)
- ปริมาตร 7.66×10^10 ลูกบาศก์กิโลเมตร (3.5 เท่าของดวงจันทร์โลก)
- มวล 1.4819×10^23 กิโลกรัม (2.02 เท่าดวงจันทร์โลก หรือ 0.025 เท่าของโลก)
- แรงโน้มถ่วง 1.428 m/s^2 (0.146 เท่าของโลก)
- ก๊าซที่พื้นผิวดาวส่วนใหญ่เป็นก๊าซอ๊อกซิเจน
ภาพพื้นผิวของดวงจันทร์แกนิมีด ถ่ายโดยยานอวกาศจูโน เมื่อปี 2021 |
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
ดาวเคราะห์ หมายถึง ดาวหินหรือดาวแก๊ส ที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง โคจรรอบดาวฤกษ์ซึ่งเป็นดาวแม่ด้วยวงโคจรที่เสถียรและแน่นอน อาจจะมีดวงจัทร์เป็นดาวบริวาลหรือไม่ก็ได้ ในระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์ 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ส่วนอีก 4 วงเป็นดาวแก๊ส คือ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
ดาวเคราะห์แคระ หมายถึง ดาวเคราะห์ตามคำนิยามปกติ แต่มักมีขนาดเล็ก มีวงโคจรไม่เสถียร และมักไม่อยู่ในระนาบตามแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวแม่ ตัวอย่างดาวเคราะห์แคระ เช่น ดาวพลูโต และดาวอีรีส เป็นต้น
ดวงจันทร์ หมายถึง ดาว หรือ วัตถุอวกาศ ที่เป็นบริวารและโคจรรอบดาวเคราะห์ หรือ ดาวเคราะห์แคระ เป็นวัถุอวกาศที่มีลักษณะภายนอกเหมือนดาวเคราะห์ทั่วไป แต่มีขนาดเล็กกว่าดาวแม่ ดังนั้นจึงตกอยู่ในอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดาวแม่ ดวงจันทร์ขนาดใหญ่มักมีสัณฐานกลม ในขณะที่ดวงจันทร์ขนาดเล็กมักมีสัณฐานไม่กลม บางดวงก็มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว
เกร็ความรู้
- ดาวพฤหัสมีดวงจันทร์ทั้งหมด 95 ดวงที่ยืนยันแล้ว และยังมีการค้นพบเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ดาวเสาร์ดวงจันทร์ทั้งหมด 146 ดวงที่ยืนยันแล้ว และยังมีการค้นพบเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ดวงจันทร์ของโลกมีชื่อว่า Luna หรืออาจจะเรียกว่า The Moon ก็ได้
- ดาวเคราะห์แคระพลูโตมีดวงจันทร์เป็นบริวารถึง 5 ดวง
- ดาวพุธและดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีดวงจันทร์บริวาร
- ดาวเคราะห์แคระอีรีสที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,326 กิโลเมตร แต่มีดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 700 กิโลเมตร
- มีการค้นพบน้ำบนดวงจันทร์หลายดวง เช่น แกนิมีดและยูโปา ของดาวพฤหัส และเอนเซลาดัสของดาวเสาร์ เป็นต้น